อย่าเพิ่งแชร์!! หากยังไม่รู้ว่าข่าวนี้เป็น Fake News หรือเปล่า น้องแมวเตือนแล้วนะ
ทุกคนต่างรู้ดีอยู่แล้วบนโลกออนไลน์ในทุกๆ วัน ต่างมีข่าวสารมากมายใช่ไหมล่ะ แต่ในบรรดาข่าวทั้งหมดนั้นล้วนมีทั้งข่าวที่เป็นจริง และไม่จริงทั้งนั้น
ซึ่งจริงๆ แล้ว ทุกคนสามารถเข้าใจได้อยู่แล้วว่าข่าวนั้นจริง หรือไม่จริงกันแน่ แต่บางทีมันก็เหมือนจะจริงนะ แต่ก็ไม่ชัวร์เท่าไร
แล้วเราจะแยกกันยังไงล่ะ?
วันนี้น้องแมวได้รวบรวม 6 ประเภทข่าว Fake News หรือข่าวปลอมมาให้ทุกคนได้เข้าใจกัน
- Fabricated Content เนื้อหาปลอมข้อมูลไม่ถูกต้อง
เป็นข่าวที่นำเสนอข้อมูลไม่ถูกต้องทั้งหมด มีจุดประสงค์ทำให้คนตื่นตระหนก และเข้าใจผิด จนแชร์กระจายออกไปเป็นวงกว้าง กว่าจะรู้ว่าเป็นข่าวปลอม ก็แชร์ไปเยอะแล้ว

- Manipulated Content เนื้อหาบิดเบือน
เป็นเนื้อหาข่าวที่ถูกบิดเบือนความจริงไปบางส่วน มีจุดประสงค์เพื่อลวงผู้รับสาร

- Imposter Content เนื้อหาหลอกลวง
เป็นเนื้อหาข่าวแบบแอบอ้างโดยใช้ชื่อบุคคลจริง หรือชื่อที่คนส่วนมากรู้จักอยู่แล้ว เพื่อทำให้ผู้รับสารหลงเชื่อ และเข้าใจผิดได้ง่ายๆ

- Misleading Content เนื้อหาสร้างความเข้าใจผิด
เป็นเนื้อหาข่าวที่จงใจให้เกิดความเข้าใจผิด หรือชวนเชื่อ ส่วนมากมักจะเห็นบ่อยในข่าวการเมือง

- False context เนื้อหาเกินจริง (Clickbait)
เนื้อหาข่าวที่พาดหัวข่าวเกินจริง หรือไม่ตรงกับเนื้อหา ส่วนมากจะเป็นหัวข้อดึงดูดความสนใจผู้รับสาร เพื่อให้คลิกเข้าไปอ่าน

- Satire and Parody เนื้อหาล้อเลียน
เนื้อหาข่าวที่มีพิษภัยน้อยที่สุด เนื่องจากไม่ได้มีเจตนาทำให้คนมาเชื่อ หรือเข้าใจผิด แต่ต้องการล้อเลียนเท่านั้น

*น้องแมวเตือนว่าเนื้อหาประเภทนี้ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านให้ดีนะ
Fake News ยังคงมีมากมายบนโลกออนไลน์ อย่าลืมตรวจสอบเนื้อหาให้ชัวร์ก่อนว่าใช่ความจริงไหม ก่อนที่จะแชร์กันนะ