IG Story เป็นฟีเจอร์ที่ทุกคนต่างใช้กันเป็นปกติ ด้วยความที่คอนเทนต์ที่ลงในสตอรี่เป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ด้วยความเรียลของคอนเทนต์ที่จะสามารถลงสิ่งที่ชอบ งานอดิเรก หรือกิจวัตรต่างๆ ในชีวิตเราเอง
แต่เคยสังเกตตัวเองกันไหม Story ที่เราลงไป จริงๆ แล้ว เราก็ไม่ได้อยากให้ใครดูหรอก แต่เป็นตัวเราเองนี่แหละ! ที่จะดูซ้ำๆ แต่มันไม่ได้เป็นสิ่งแปลกเลยนะ เพราะมีหลักจิตวิทยามาอ้างอิงอยู่ เดี๋ยวเราไปดูกันเลย
The Looking Glass Theory: ทฤษฎีกระจกส่องตน
ดร. Alison Forti เจ้าของทฤษฏีกระจกส่องตน หรือ The Looking Glass Factor กล่าวว่า การที่เราดูสตอรี่ของตัวเอง เป็นการเช็คว่า ตัวเราที่ในสายตาที่ทุกคนเห็นเป็นอย่างไรบ้าง หรือพูดง่ายๆ คือการดูตัวเองว่าตัวเราที่คนอื่นเห็นผ่านสตอรี่นั้นดูเป็นยังไงบ้าง เพื่อที่จะคาดหวังฟีดแบ็กจากการมองตัวเองซ้ำๆ
The Performance Theory: ทฤษฎีการแสดง
ดร. Kent Bausman เจ้าของอีกหนึ่งทฤษฎี นั่นคือ ทฤษฎีการแสดง หรือ The Performance Theory เป็นแนวคิดที่ว่าด้วยพฤติกรรมของแต่ละคนเปรียบเสมือนการแสดงของนักแสดงบนเวที การที่เราออกไปที่สาธารณะ หรือพบเจอผู้คน ตัวเราจะแสดงตัวตนในแบบฉบับที่ต้องการให้ทุกคนได้เห็นโดยอัตโนมัติ เปรียบกับ การแสดงหน้าเวที แต่เมื่อไหร่ที่อยู่คนเดียวในพื้นที่ส่วนตัว เวลานั้นก็คือการพักอยู่หลังเวที
ทฤษฏีนี้บ่งบอกพฤติกรรม การไตร่ตรองอย่างชัดเจน จากการที่เราดูตัวเองในสตอรี่ซ้ำๆ เพื่อไตร่ตรองว่าสิ่งที่เราได้นำเสนอออกไป เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นตัวตัวบนโลกเสมือน ที่ตรงข้ามกับความเป็นจริง
จากทฤษฏีข้างต้น ทำให้เราได้รู้แล้วนะว่าการที่เราดูสตอรี่ตัวเองซ้ำๆ นั้น มันไม่ได้ผิดปกติเลย ตามหลักจิตวิทยาเป็นการเช็คความถูกต้องของตัวเองเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามน้องแมวก็อยากฝากเรื่องการ Social Media ไว้ด้วยนะ ใช้อย่างระมัดระวัง เพราะยังไง Social Media ก็เป็นเพียงโลกเสมือนอีกโลกเท่านั้นเอง
Source:
TheTab