ข่าวแบบไหนเรียก FAKE NEWS กันนะ

อย่าเพิ่งแชร์!! หากยังไม่รู้ว่าข่าวนี้เป็น Fake News หรือเปล่า น้องแมวเตือนแล้วนะ

ทุกคนต่างรู้ดีอยู่แล้วบนโลกออนไลน์ในทุกๆ วัน ต่างมีข่าวสารมากมายใช่ไหมล่ะ แต่ในบรรดาข่าวทั้งหมดนั้นล้วนมีทั้งข่าวที่เป็นจริง และไม่จริงทั้งนั้น

ซึ่งจริงๆ แล้ว ทุกคนสามารถเข้าใจได้อยู่แล้วว่าข่าวนั้นจริง หรือไม่จริงกันแน่ แต่บางทีมันก็เหมือนจะจริงนะ แต่ก็ไม่ชัวร์เท่าไร

แล้วเราจะแยกกันยังไงล่ะ?

วันนี้น้องแมวได้รวบรวม 6 ประเภทข่าว Fake News หรือข่าวปลอมมาให้ทุกคนได้เข้าใจกัน

  1. Fabricated Content เนื้อหาปลอมข้อมูลไม่ถูกต้อง

เป็นข่าวที่นำเสนอข้อมูลไม่ถูกต้องทั้งหมด มีจุดประสงค์ทำให้คนตื่นตระหนก และเข้าใจผิด จนแชร์กระจายออกไปเป็นวงกว้าง กว่าจะรู้ว่าเป็นข่าวปลอม ก็แชร์ไปเยอะแล้ว

  1. Manipulated Content เนื้อหาบิดเบือน

เป็นเนื้อหาข่าวที่ถูกบิดเบือนความจริงไปบางส่วน มีจุดประสงค์เพื่อลวงผู้รับสาร

  1. Imposter Content เนื้อหาหลอกลวง

เป็นเนื้อหาข่าวแบบแอบอ้างโดยใช้ชื่อบุคคลจริง หรือชื่อที่คนส่วนมากรู้จักอยู่แล้ว เพื่อทำให้ผู้รับสารหลงเชื่อ และเข้าใจผิดได้ง่ายๆ

  1. Misleading Content เนื้อหาสร้างความเข้าใจผิด

เป็นเนื้อหาข่าวที่จงใจให้เกิดความเข้าใจผิด หรือชวนเชื่อ ส่วนมากมักจะเห็นบ่อยในข่าวการเมือง

  1. False context เนื้อหาเกินจริง (Clickbait)

เนื้อหาข่าวที่พาดหัวข่าวเกินจริง หรือไม่ตรงกับเนื้อหา ส่วนมากจะเป็นหัวข้อดึงดูดความสนใจผู้รับสาร เพื่อให้คลิกเข้าไปอ่าน

  1. Satire and Parody เนื้อหาล้อเลียน

เนื้อหาข่าวที่มีพิษภัยน้อยที่สุด เนื่องจากไม่ได้มีเจตนาทำให้คนมาเชื่อ หรือเข้าใจผิด แต่ต้องการล้อเลียนเท่านั้น

*น้องแมวเตือนว่าเนื้อหาประเภทนี้ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านให้ดีนะ

Fake News ยังคงมีมากมายบนโลกออนไลน์ อย่าลืมตรวจสอบเนื้อหาให้ชัวร์ก่อนว่าใช่ความจริงไหม ก่อนที่จะแชร์กันนะ

BLOGs & news