ใช้ Google Search อย่างเซียน ด้วย Operators

Google Search เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาบางอย่างที่อยากจะค้นหา แต่จริง ๆ ก็แทบจะได้ทุกสิ่งที่เราอยากรู้ เพียงแค่มีคีย์เวิร์ด

แต่ด้วยอัลกอริทึมของช่องค้นหาแทบจะปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นต้องโฟกัสกับการใช้ “คีย์เวิร์ด” เป็นพิเศษ

แต่เชื่อว่าแทบจะทุกคนคงประสบปัญหาเดียวกัน นั่นคือ พิมพ์คีย์เวิร์ดไปแล้ว แต่ได้ข้อมูลแสดงผลกลับมาไม่ค่อยน่าพอใจเท่าที่ควร ท้อแท้~

แต่ไม่ต้องห่วงน้องแมวมีตัวช่วยที่จะทำให้การค้นหาแม่นยำมากขึ้น ซึ่งตัวช่วยนี้เรียกว่า “โอเปอเรเตอร์ หรือ Google Search Operators”

โอเปอเรเตอร์ (Operator) การค้นหาของ Google คือคำสั่งที่ใช้ในการระบุการค้นหานั้นๆ ด้วยการใช้อักขระ หรือสัญลักษณ์

1. ใช้เครื่องหมายคำพูด (” “) เพื่อเจาะจงคีย์เวิร์ด
เป็นการค้นหาแบบเจาะจงเฉพาะวลีที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูดเท่านั้น โดยจะมีวลีอื่น ๆ ตามได้ เพียงแต่วลีในเครื่องหมายจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

2. ใช้เครื่องหมายตัวหนอน หรือ Grave Accent (~) เพื่อหาคำที่คล้ายกัน
การค้นหาบางทีจะใส่เพียงแค่คีย์เวิร์ดนั้น ๆ ก็รู้สึกว่าข้อมูลก็ยังไม่ชัดเจนพอ การใช้คำที่ใกล้เคียงกัน ก็จะได้ข้อมูลเพิ่มเติมพอสมควร อย่างเช่น ต้องการหาสินค้าชนิดหนึ่ง หากใช้เครื่อง ~ ตามด้วย cheap ก็อาจจะได้คำที่ความหมายคล้ายกันมาด้วย อย่าง inexpensive

3. ใช้เครื่องหมายลบ (-) เพื่อยกเว้นคำนั้นๆ
การยกเว้นคีย์เวิร์ดจะใช้ได้ต่อเมื่อมีการค้นหาคำที่ค่อนข้างกำกวม เช่น ต้องการ หาคำ ว่า mango แต่อาจจะมีการดึงข้อมูล mango ที่เป็นแบรนด์มาด้วย โดยที่ไม่ต้องการ ก็สามารถใช้เครื่องหมาย – มาเว้นคีย์เวิร์ดบางคำได้

4. ใช้เครื่องหมายสองจุด (..) เพื่อกำหนดช่วงเวลา – 2020..2022
หากต้องการจำกัดการค้นหา ช่วงเวลา หรือ ราคา ใช้เครื่องหมายสองจุดคั่นกลางเพื่อกำหนดช่วงได้ เช่นต้องการค้นหาสินค้าราคาช่วง 200 บาท ถึง 500 บาท สามารถเขียนได้ดังนี้ 200 baht..500 baht

5. เครื่องหมายดอกจัน (*) ใช้หาผลลัพธ์ wildcard
เป็นการค้นหาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำ หรือวลีนั้น ๆ

6. ใช้ OR เพื่อค้นหาหนึ่งคำค้นหาหรืออีกคำหนึ่ง
เป็นการค้นหาคำ หรือวลีใดก็ได้ที่ถูกกำหนดไว้
*สามารถใช้เครื่องหมาย pipe line ( | ) แทน OR ได้เช่นกัน

7. การเจาะจงเว็บไซต์ด้วยการใช้ Site: ตามด้วยชื่อโดเมนเว็บไซต์นั้น
หากต้องการค้นหาเฉพาะเว็บไซต์เฉพาะเพียงเว็บเดียว สามารถใช้ site: แล้วตามด้วย url นั้นๆ ได้เลย

8. ค้นหาเฉพาะไฟล์ด้วย filetype: ไฟล์นั้นๆ
จะคล้ายๆ กรณีของการค้นหาเฉพาะเว็บไซต์ เพียงแต่เป็นการค้นหาไฟล์นั้น ๆ ได้แบบเฉพาะเจาจง ดังตัวอย่าง ต้องการค้นหาไฟล์ PDF ที่เกี่ยวกับ Blockchain
ตัวอย่าง blockchain filetype:pdf

9. ค้นหาเว็บไซต์ที่เหมือนกัน related: ตามด้วยชื่อโดเมนเว็บไซต์นั้น
ค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ เว็บที่กำหนดไว้ เช่นการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ Google จะขึ้นหน้าเว็บของ Bing หรือ Yahoo ออกมา เพราะเป็นเว็บไซต์ Search Engine เหมือนกัน

Source:
pcmag.com
ahrefs.com

BLOGs & news